top of page
Search

Occupying the English Channel

Writer: Sasee  Chanprapun Sasee Chanprapun

English Channel ที่พูดถึงในที่นี้ไม่ใช่ช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นกลางอยู่ระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศฝรั่งเศส แต่เป็นช่องภาษาที่ใช้ในการแปลแบบล่ามพูดพร้อม




ในการแปลแบบล่ามที่ทั้งผู้พูดกับผู้แปลพูดไปพร้อมกัน โดยผู้แปลพูดคำแปลไล่หลังเนื้อหาที่ผู้พูดพูดในเวลาไม่กี่วินาที่ เราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคนิคเข้ามาช่วยให้เสียงของผู้พูดไม่ตีกันกับเสียงของผู้แปล เครื่องมือนี้ทำให้สามารถแปลการประชุมออกเป็นหลาย ๆ ภาษาได้ในคราวเดียวกัน


ก่อนอื่นขออธิบายคำเรียกที่ใช้ในการแปลแบบล่ามพูดพร้อม (SI: simultaneous interpretation) ในการแปลลักษณะนี้ภาษาที่ใช้ในการดำเนินการประชุมเรียกว่าภาษา floor หมายความว่าหากผู้เข้าร่วมประชุมไม่ใส่หูฟัง ไม่เลือกฟังคำแปลช่องใดเลย เขาจะได้ยินภาษานี้ เราจะสมมุติว่าในการประชุมครั้งนี้ภาษา floor คือภาษาอังกฤษ แต่ในขณะที่การประชุมดำเนินไปเป็นภาษาอังกฤษก็จะมีการแปลออกเป็นภาษาไทย จีนกลาง และเวียดนาม โดยผู้ที่ต้องการฟังคำแปลสามารถเลือกช่องสัญญาณที่จะฟังได้ตามภาษาที่ต้องการ


แผนภูมิด้านบนแสดงผังการแปลชนิดที่เรียกว่า retour คือการแปลสองทางจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาจีนกลางและจากภาษาจีนกลางเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาเวียดนามและจากภาษาเวียดนามเป็นภาษาอังกฤษ เราจะสังเกตได้ว่าในการแปลแบบนี้ล่ามที่แปลภาษาไทย จีนกลาง และเวียดนามจะทำงานอย่าเป็นอิสระจากกัน แต่มีการแปลอีกลักษณะหนึ่งเป็นการแปลแบบรับช่วงหรือ relay การแปลลักษณะนี้จะใช้เมื่อไม่สามารถหาล่ามที่แปลตรงระหว่างภาษาต้นทางกับภาษาปลายทางได้ เช่นไม่สามารถหาล่ามที่แปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนกลาง หรือล่ามที่แปลภาษาไทยเป็นภาษาเวียดนามได้ หากมีผู้เข้าประชุมลุกขึ้นมาพูดภาษาไทย สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือล่ามไทยจะแปลข้อความนั้นเป็นภาษาอังกฤษ แล้วล่ามจีนกลางจะฟังคำแปลดังกล่าวเพื่อนำไปแปลต่อเป็นภาษาจีนกลางอีกทอดหนึ่ง ล่ามเวียดนามก็ทำเช่นเดียวกัน


ในกระบวนการแปลทั้งแบบ retour และ relay อาจเกิดปัญหาการแย่งช่องภาษาในการแปลกัน ช่องที่แย่งกันมักเป็นช่องภาษาอังกฤษ เข่นเมื่อผู้ประชุมพูดภาษาไทยล่ามไทยก็ต้องใช้ช่องภาษาอักฤษในการพูดคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อผู้ประชุมพูดภาษาเวียดนามในที่ประชุมล่ามเวียดนามก็ต้องใช้ช่องภาษาอังกฤษแปลข้อความนั้นเช่นเดียวกัน ปัญหามักเกิดเมื่อพูดคำแปลเสร็จแล้วลืมกดออกจากช่อง ทำให้ล่ามคนอื่นที่จะเข้ามาใช้ช่องภาษานั้นไม่สามารถเข้ามาได้ เรื่องนี้สร้างปัญหาอยู่เนือง ๆ ในการประชุมระหว่างประเทศที่มีการแปลเป็นหลายภาษา ในการแปลแบบ relay ก็เช่นเดียวกันที่เมื่อล่ามเข้าไปแปลในช่องภาษาอังกฤษเสร็จแล้วต้องรีบกดปุ่มออกมาทันทีเพื่อให้ล่ามภาษาอื่นสามารถเข้าไปใช้ช่องภาษานั้นได้ด้วย สติจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา


จากคำอธิบายสั่น ๆ นี้จะเห็นได้ว่านอกเหนือจากคุณภาพในการแปลของล่ามแล้ว การใช้ช่องภาษาด้วยความระมัดระวังเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การประชุมดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ราบรื่น และประสบความสำเร็จ ขอทิ้งท้ายด้วยการล้อเล่น (แต่สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้) ว่าให้เขียนใส่กระดาษวางไว้ข้างหน้าเลยว่า Do not occupy the English Channel!


 

เกี่ยวกับผู้เขียน

ร.ศ. ศศี จันทร์ประพันธ์ schanprapun@yahoo.com เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นล่ามการประชุมอิสระ สมาชิกสมาคมล่ามการประชุมระหว่างประเทศ (AIIC) และเป็นอาจารย์สอนโครงการปริญญาโทการแปลล่ามที่ศูนย์การแปลและล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจเรื่องการแปลและการแปลแบบล่าม ต้องการยกระดับวงการล่ามไทยให้มีมาตรฐานที่ดี และส่งเสริมศักดิ์ศรีในอาชีพล่าม ติดตามเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการแปลแบบล่ามการประชุมได้อีกช่องทางที่ https://www.youtube.com/channel/UCyQGlZJdFncGnnJw0fsLhFQ


 
 
 

留言


If you're planning a conference, a meeting or any event with interpreting, please get in touch.  We have the expertise and experience to help you get your message across.  We can even help with the translation of your conference material and find the right SI equipment provider for you.  Just fill in the form below and we'll get back to you.

Sasee Chanprapun

Conference Interpreter

Member of AIIC

A: Thai     B: English

Telephone: +66899252957

Email: schanprapun@yahoo.com

Thanks for submitting!

  • Black LinkedIn Icon
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Instagram Icon

© 2023 By Rachel Smith. Proudly created with Wix.com

bottom of page